หัวข้อ   “ การท่องเที่ยวประเทศไทยของชาวต่างชาติ ท่ามกลางการชุมนุมประท้วง
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่า 1 ใน 3 เคยไปสัมผัสบรรยากาศท่องเที่ยวในพื้นที่การชุมนุม โดย 61.5%
เห็นว่าการชุมนุมรุนแรงน้อยกว่าที่คิดไว้ และ 84.4%ชี้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีผลน้อยต่อการตัดสินใจมาเที่ยว
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่า 4 เดือน เริ่มส่งส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว
ของประเทศไทย ดังนั้นเพื่อทราบความคิดเห็นของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามา
ท่องเที่ยวประเทศไทยท่ามกลางการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้น ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นชาวต่างชาติเรื่อง
“การท่องเที่ยวประเทศไทยของชาวต่างชาติ ท่ามกลางการชุมนุมประท้วง”
โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,094 คนพบว่า
 
                  ชาวต่างชาติร้อยละ 96.4 ทราบข่าวการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้น
ก่อนการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย
ขณะที่ร้อยละ 3.6 ไม่ทราบ
โดยในจำนวนผู้ที่ทราบบอกว่าเหตุผลที่ทำให้ยังตัดสินใจมาท่องเที่ยวเพราะ
ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องมาให้ได้ (ร้อยละ 33.8)
รองลงมาคือ
สถานที่ที่ตั้งใจจะไปไม่มีการชุมนุมประท้วง (ร้อยละ 32.3) ซื้อตั๋วเครื่องบิน
แพ็กเกจที่พักไว้แล้ว (ร้อยละ 15.4) และการชุมนุมไม่อันตรายร้ายแรง
(ร้อยละ 14.9)
 
                  เมื่อถามว่าการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีผลต่อการตัดสินใจมา
ท่องเที่ยวประเทศไทยในระดับใด ร้อยละ 84.4 เห็นว่ามีผลน้อยถึงน้อยที่สุด

ขณะที่ร้อยละ 15.6 เห็นว่ามีผลมากถึงมากที่สุด ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่ามีการปรับตัว
อย่างไรบ้าง ในการท่องเที่ยวประเทศไทยท่ามกลางการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้น
ร้อยละ 46.5 บอกว่า หลีกเลี่ยงสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีการชุมนุมในกรุงเทพฯ

รองลงมาร้อยละ 34.6 บอกว่า ไม่ต้องปรับตัว/ ท่องเที่ยวได้หมด และร้อยละ 23.4
บอกว่าต้องวางแผนวันต่อวัน และติดตามข่าวสารตลอดเวลา
 
                  สำหรับการสัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวในพื้นที่การชุมนุม
(เช่น แถวสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ ชิดลม) พบว่า ชาวต่างชาติร้อยละ
59.1 ไม่มีโอกาสสัมผัส
ขณะที่ร้อยละ 40.9 ได้มีโอกาสสัมผัส
 
                 ส่วนสิ่งที่อยากให้ปรับปรุงการให้บริการการท่องเที่ยวในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงมากที่สุดคือ
ควรมีการให้ข้อมูลการท่องเที่ยว การเดินทาง หรือแผนที่บอกเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการชุมนุมประท้วง
(ร้อยละ 32.5)
รองลงมาคือ ควรมีการอัพเดทข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงเป็นภาษาอังกฤษวันต่อวัน เพื่อสร้าง
ความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว (ร้อยละ 27.0) และอยากให้มีการดูแลระบบขนส่งสาธารณะให้ดีกว่านี้ รถโดยสาร
ไม่สามารถเข้ามาส่งถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีการชุมนุมได้ รวมถึงรถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก มีการโก่งค่าโดยสาร (ร้อยละ 14.5)
 
                  เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกหรือไม่
ในโอกาสถัดไป ร้อยละ 89.9 ระบุว่าจะกลับมาอีก
มีเพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้นที่ระบุว่าจะไม่กลับมาอีก และเมื่อ
ถามต่อว่ายินดีที่จะแนะนำหรือบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวประเทศไทยหรือไม่ ร้อยละ 94.6 ระบุว่าจะแนะนำหรือ
บอกต่อ
มีเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้นที่ระบุว่าจะไม่แนะนำ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าในภาพรวมเมื่อมาเที่ยวประเทศไทยแล้ว คิดว่าการชุมนุมประท้วงมีความรุนแรง
เป็นอย่างไร กับที่คิดไว้ก่อนเดินทางมา ร้อยละ 61.5 เห็นว่ารุนแรงน้อยกว่าที่คิดไว้
และร้อยละ 27.5 เห็นว่า
รุนแรงพอๆกับที่คิดไว้ ขณะที่ร้อยละ 11.0 เห็นว่ารุนแรงมากกว่าที่คิดไว้
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบข่าวการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้น ก่อนการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย

 
ร้อยละ
ทราบ
แต่ที่ตัดสินใจมาเพราะ

ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่
ต้องมาให้ได้
ร้อยละ 33.8

 
สถานที่ที่ตั้งใจจะไปไม่มีการชุมนุม
ประท้วง
ร้อยละ 32.3

 
ซื้อตั๋วเครื่องบิน แพ็กเกจที่พักไว้แล้ว
ร้อยละ 15.4
 
การชุมนุมไม่อันตรายร้ายแรง
ร้อยละ 14.9
96.4
ไม่ทราบ
3.6
 
 
             2. การประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวประเทศไทยในระดับใด

 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 2.9 และมากร้อยละ 12.7)
15.6
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 36.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 47.9)
84.4
 
 
             3.การปรับตัวเมื่อมาท่องเที่ยวประเทศไทย จากสถานการณ์การชุมนุมประท้วง
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
หลีกเลี่ยงสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีการชุมนุมในกรุงเทพฯ
46.5
ไม่ต้องปรับตัว/ ท่องเที่ยวได้หมด
34.6
ต้องวางแผนวันต่อวัน และติดตามข่าวสารตลอดเวลา
23.4
เปลี่ยนแผนไปเที่ยวจังหวัดอื่นแทนที่กรุงเทพฯ
9.4
ลดจำนวนวันท่องเที่ยว
6.5
 
 
             4. การสัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวในพื้นที่การชุมนุม (เช่น แถวสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ ชิดลม)

 
ร้อยละ
มีโอกาสสัมผัส
40.9
ไม่มีโอกาสสัมผัส
59.1
 
 
             5.สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงการให้บริการการท่องเที่ยวในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วง (5 อันดับแรก)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ควรมีการให้ข้อมูลการท่องเที่ยว การเดินทาง หรือแผนที่บอก
เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการชุมนุมประท้วง
32.5
ควรมีการอัพเดทข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงเป็นภาษาอังกฤษวันต่อวัน
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว
27.0
อยากให้มีการดูแลระบบขนส่งสาธารณะให้ดีกว่านี้ รถโดยสารไม่สามารถเข้ามาส่ง
ถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีการชุมนุมได้ รวมถึงรถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก มีการโก่งค่าโดยสาร
14.5
อยากให้ตำรวจมาช่วยรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวมากกว่านี้
13.4
อยากให้ยกเลิกการปิดถนนในพื้นที่ชุมนุมเพราะทำให้การจราจรติดขัดมาก
7.9
 
 
             6. ความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้งของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

 
ร้อยละ
จะกลับมาอีก
89.9
จะไม่กลับมาอีก
1.3
ยังไม่แน่ใจ
8.8
 
 
             7. การยินดีที่จะแนะนำหรือบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวประเทศไทย

 
ร้อยละ
จะแนะนำหรือบอกต่อ
94.6
จะไม่แนะนำ
1.0
ไม่แน่ใจ
4.4
 
 
             8. ในภาพรวมเมื่อมาเที่ยวประเทศไทยแล้ว ท่านคิดว่าการชุมนุมประท้วงมีความรุนแรงเป็นอย่างไร
                  กับที่คิดไว้ก่อนเดินทางมา

 
ร้อยละ
รุนแรงน้อยกว่าที่คิดไว้
61.5
รุนแรงพอๆกับที่คิดไว้
27.5
รุนแรงมากกว่าที่คิดไว้
11.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อสะท้อนมุมมองการท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวต่างชาติในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วง
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป บริเวณพื้นที่สนามบิน
สุวรรณภูมิ โดยกำหนดสัดส่วนให้สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเดือน
มกราคม 2557 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,094 คน เป็นเพศชายร้อยละ 59.3 และเพศหญิงร้อยละ 40.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1- 2 มีนาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 มีนาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
649
59.3
             หญิง
445
40.7
รวม
1,094
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 30 ปี
520
47.6
             31 – 40 ปี
280
25.6
             41 – 50 ปี
140
12.8
             51 – 60 ปี
89
8.1
             60 ปีขึ้นไป
65
5.9
รวม
1,094
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
246
22.5
             ปริญญาตรี
485
44.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
363
33.2
รวม
1,094
100.0
ภูมิลำเนามาจากทวีป:
   
             ทวีปยุโรป
650
59.4
             ทวีปอเมริกา
128
11.7
             ทวีปโอเชียเนีย
58
5.3
             ทวีปเอเชีย
246
22.5
             ทวีปแอฟริกา
12
1.1
รวม
1,094
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776